วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครื่องสำอางกับ อย.

ในชีวิตประจำวันของคนเราทุกวันนี้ จะต้องเกี่ยวข้องหรือใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไม่มากก็น้อย เช่น สบู่ ยาสีฟัน แป้งฝุ่น แป้งรองพื้น ดินสอเขียนคิ้ว ครีมตัวขาว โลชั่นทาผิว ลิปสติก โฟมล้างหน้า ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด ครีมแต้มสิวบางชนิด แชมพูสระผม ครีมนวดผม ยาย้อมผม น้ำหอม ผลิตภัณฑ์แต่งตา ทาแก้ม ทาเล็บ ล้างเล็บ เจลตกแต่งทรงผม ระงับกลิ่นกาย น้ำยาบ้วนปาก บลัชออนแต่งแก้ม ฯลฯ อยู่เป็นประจำ บางคนเคยสังเกตว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำไมถึงมี อ.ย. แต่บางชนิดไม่มี อ.ย. กำกับไว้ ทำให้เกิดความสับสนหรือไม่มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุญาตให้จำหน่ายได้หรือไม่ สมควรจะหาซื้อมาใช้หรือว่ามีความปลอดภัยมากเพียงไร 

ข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนั้นคือ 

1. เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ย้อมผม ฟอกสีผม แต่งผมดำ ผลิตภัณฑ์ทำให้ขนร่วงเป็นต้น โดยต้องไปอนุญาตก่อนการผลิตที่กองควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และต้องมี อ.ย. พร้อมคำว่า เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ กำกับไว้ที่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและแสดงข้อความที่ต้องระบุไว้ให้มีครบถ้วน 

2. เครื่องสำอางควบคุม ได้แก่ ครีมกันแดดบางชนิด แชมพูที่มีสารขจัดรังแค ผ้าอนามัย ผ้าเย็นกระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำหรือประเภทที่มีสารี่ อ.ย. ระบุไว้ว่าต้องไปจดแจ้งที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขและต้องมีคำว่า เครื่องสำอางควบคุม พร้อมแสดงข้อความที่ระบุไว้มีกำกับไว้ที่ผลิตภัณฑ์แต่ไม่ต้องมี อ.ย. 

3. เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ สบู่ โฟมล้างหน้า ครีมบำรุงผิว ครีมตัวขาว แชมพูสระผม ครีมนวดผม ครีมแต้มสิวบางชนิด น้ำหอม อายแชโดว์เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ ผู้ผลิตไม่ต้องไปขออนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้และไม่ต้องมี อ.ย. แต่ต้องมีรายละเอียดภาษาไทย ระบุประเภทและชื่อผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วิธีใช้ ปริมาณสุทธิ ให้ครบถ้วนตามที่คณะกรรมการอาหารและยา กำหนดให้แสดงไว้ ถ้าเป็นเครื่องสำอางที่นำเข้าจากต่างประเทศก็จะต้องมีข้อความดังกล่าวเช่นกันอีกด้วย จึงจะถือว่าเป็นภาษาไทย และแสดงชื่อและที่ตั้งผู้นำเข้า ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต และประเทศที่ผลิตอีกด้วย จึงถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ถูกต้อง ฉะนั้นจะมีเครื่องสำอางเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่จะต้องมี อ.ย. กำกับไว้ตามเหตุผลที่ได้ชี้แจงให้ทราบข้างต้นคือ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษเท่านั้น 
 
  รู้อย่างนี้แล้ว คงสบายใจขึ้นใช่ไหมคะ มั่นใจว่า ถ้าคุณเลือกได้ก็คงไม่อยากใช้เครื่องสำอางที่มีเลขที่ อ.ย. กำกับ เพราะนั่นหมายถึง เครื่องสำอางที่เข้าข่าย ข้อ 1 และ ข้อ 2 ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับเคมีก็หันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติดีกว่านะคะ
 
ขอบคุณที่มา : perfectproskin.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น